วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเข้าเรียน ครั้งที่ 16
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


**หมายเหตุ**
    
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมส่งงานวิจัยของแต่ละคน และอาจารย์ได้ให้ข้อสอบกลับไปทำ โดยนัดส่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557
การเข้าเรียน ครั้งที่ 15
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

สาเหตุของปัญหาการเรียน
     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
     ขาดโอกาสทางการศึกษา
     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
     วิธีการสอนไม่เหมาะสม

หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD
    สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
    สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
    ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
    ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
    ใช้ประสบการณ์ตรง
    ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
    ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
    กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
    ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
    แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
    ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
    สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
    จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
    ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
    มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก

การเข้าเรียน ครั้งที่ 14
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


วันนี้เรียนเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม

แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ          
        
       จุดมุ่งหมายของการดูแลกลุ่มอาการดาวน์ เพื่อรักษาตามอาการหรือแก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย  เพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  การดูแลรักษาเน้นการดูแลแบบองค์รวม (holistic approach) โดยทีมสหวิชาชีพ

1. ด้านสุขภาพอนามัย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติหลายอย่างที่พบร่วมด้วยได้ในกลุ่มอาการดาวน์ รวมทั้งมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายและบ่อยกว่าเด็กทั่วไป จึงควรแนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  และติดตามการรักษาเป็นระยะๆ

2. การส่งเสริมพัฒนาการ 
เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม จึงควรแนะนำบิดามารดาเรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ

3. การดำรงชีวิตประจำวัน 
ควรฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด  เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ รู้จักควบคุมตนเอง

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่
        - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
        - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
        - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน 
        - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ



การเข้าเรียน ครั้งที่ 13
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




**สอบกลางภาคในคาบเรียน**
การเข้าเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ให้นำเสนองานอีก 2 กลุ่มที่เหลือ ดังนี้

กลุ่มที่ 4 ออทิสติก (Autistic)




กลุ่มที่ 5 ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)





การเข้าเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




**ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมือง
หมายเหตุ ต้องหาเวลาชดเชย 1 วัน**
การเข้าเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

 วันนี้มีการนำเสนองานกลุ่มในเรื่องประเภทของเด็กพิเศษทั้ง 5 กลุ่ม ที่ได้จับฉลากได้ ซึ่งในวันนี้ได้มีการนำเสนอด้วยกันทั้ง 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 สมองพิการ (Cerebral Palsy : C.P.)




กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (Learning Disabilities: L.D.)





กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperacivity Disorders : ADHD)





ส่วน 2 กลุ่มที่เหลือ นำเสนอในสัปดาห์ต่อไป 

การเข้าเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศ


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันปีใหม่**
การเข้าเรียน ครั้งที่ 8
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค**
การเข้าเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


**ไม่มีการเรียนการสอบ เนื่องจากแข่งกีฬา เทา-เหลือง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม **
การเข้าเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันรัฐธรรมนูญ**
การเข้าเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  • อาจารย์ได้แจกเอกสารประกอบการเรียน "เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ"
  • เนื่องจากอุปกรณ์ในห้องเรียนเสีย  อาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาไปเตรียมตัวทำงานกลุ่ม ตามหัวข้อที่ตนเองได้รับ

การเข้าเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 26 พฤษจิกายน พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วันนี้อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์(Children with Behavioral and Emotional Disorders)


-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้


-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้


-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเรียบร้อย

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ สามารถ แบ่ง

ออกเป็น 2ประเภท ดังนี้ คือ

-เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์


-เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้


เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ


-วิตกกังวล      

-หนีสังคม     

-ก้าวร้าว


การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้


-สภาพแวดล้อม     

-ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล      


ผลกระทบ


-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ

-รักษาความสัมพันธ์ กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้

-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

-มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกดอารมณ์

-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย

-มีความหวาดกลัว


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก


-เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

-เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)


เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)


-เรียกโดยย่อๆว่า ADHD

-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

-เด็กบางคนมีปัญหา เรื่องสมาชิกบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยังยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์ เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์

-อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน

-ติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก

-ดูดนิ้ว กัดเล็บ

-หงอยเหงา เศี้าซึม การหนีสังคม

-เรียกร้องความสนใจ

-อารมณ์หวั่นไหวง่าย ต่อสิ่งเร้า

-อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว

-ฝันกลางวัน

-พูดเพ้อเจ้อ


7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้( Children with Learning Disabilities)


-เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disability)

-เด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้เฉพาอย่าง

-เด็กมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน 

-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหา
เนื่องจาก ความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย



ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์

-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้

-เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้

-มีปัญหาด้านการ อ่าน เขียน

-ซุ่มซ่าม

-รับลูกบอลไม่ได้

-ติดกระดุมไม่ได้

-เอาแต่ใจตนเอง


8.เด็กออทิสติก (Autistic)-หรือ ออทิซึ่ม(Autism)


-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้


-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง


-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต


ลักษณะของเด็กออทิสติก

-อยู่ในโลกของตนเอง

-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ความปลอบใจ

-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน

-ไม่ยอมพูด

-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

-ยึดติดวัตถุ

-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์อย่างรุนแรง และไร้เหตุผล

-มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก

-ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป

9.เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)อาการของเด็กประเภทนี้ มีดังนี้

-เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก

-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน

-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด-เด็กที่ทั้งหูหนวก และ ตาบอด

    -อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เรืองห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษพร้อมทั้งทำแผนผังความคิดโดยสรุป ส่งในคาบ
การเข้าเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 19 พฤษจิกายน พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หมายถึง บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย

ลักษณะอาการ

- อาการที่บกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่

1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ

  • อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
  • อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
  • อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
  • อัมพาตตึงแข็ง  (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
  • อัมพาตแบบผสม  (Mixed)
 
2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย 

3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
   
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

4.โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว             
5.แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก             

6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง

ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
         
1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
  • ลมบ้าหมู (Grand Mal)
  • การชั่กในช่วงสั้นๆ(Petit Mal)
  • การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
  • อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
  • อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)

2.โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม             

3.โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน                   

4.โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ             

5.โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ             

6.โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
  •             
การเข้าเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 12 พฤษจิกายน พ.ศ. 2556

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


อาจารย์สอน เรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  (Special Child) 
ซึ่งหลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการบกพร่อง แต่จริงๆ แล้วคำว่าเด็กพิเศษนั้นครอบคลุมไปมากกว่านั้นค่ะ เพราะว่า “เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น กลุ่มหลักๆ ดังนี้


1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดงความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์

2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทยได้แบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน

3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
      ทั้งนี้  เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข